Get Adobe Flash player
พฤษภาคม 2024
อาทิจันทอังคพุธพฤหัศุกรเสาร
1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031

เปิด ปิด เสียงดนตรี

สำหรับผู้ดูแลเท่านั้น



เว๊บไซด์บริเวณใกล้เคียง

tumboonbangpla

ccttt

ประวัติของวัดราษฎร์บูรณะ (บางปลา)

 

 

วัดราษฏร์บูรณะ

 วัดราษฏร์บูรณะเดิมตั้งแต่โบราณเรียกว่า “วัดบางลาว” โดยพื้นที่ตั้งอยู่เลขที่ ๔๓ หมู่ที่ ๒ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ วัดราษฎร์บูรณะสร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๕๒ โดยผู้ที่ดำเนินการในการสร้างวัดชื่อนายจันทร์ จันทร โดยมีพระภิกษุรูปแรกซึ่งเป็นเจ้าอาวาสชื่อหลวงพ่อลาวซึ่งธุดงด์มาจากทางภาคภาคใต้ของประเทศไทย ในเวลาต่อมาประชาชนได้ร่วมกันสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดและได้ทำการเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดบางลาวมาเป็น“วัดราษฎร์บูรณะ”โดยมีขุนสมานพลีราษฎร์ ซึ่งเป็นกำนันในขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการ เนื่องจากในสมัยนั้นตำบลบางลาวพื้นที่ส่วนใหญ่ยังมีสภาพเป็นป่าชายเลนน้ำทะเลท่วมถึง มีป่าแสมมาก อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำ มีกุ้ง หอย ปู ปลา ชุกชุมมาก ประชาชนในสมัยนั้นส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพตัดฟืนและค้าขาย มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์มาก โดยเฉพาะปลาทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มหลาย ๆ ชนิด ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อจากตำบลบางลาวมาเป็นตำบลบางปลา การคมนาคมในสมัยก่อนประชาชนติดต่อไปมาหาสู่กันโดยทางน้ำเป็นหลัก ในปัจจุบันได้มีการสร้างถนนสุขุมวิทสายเก่า และมีการก่อสร้างประตูระบายน้ำเพื่อกั้นน้ำจืดกับน้ำเค็ม ประชาชนจึงเปลี่ยนอาชีพมาทำเกษตรกรรมและเลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้งเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่ของวัดราษฎร์บูรณะเป็นที่ราบลุ่มมีลำคลองผ่านหน้าวัดโดยแยกจากคลองสำโรงไปสิ้นสุดที่ถนนสุขุมวิทสายเก่าที่ตำบลบางปู ซึ่งปัจจุบันเป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้เป็นลำคลองสำหรับระบายน้ำจากทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพฯ ลงสู่ทะเลโดยมีประตูระบายน้ำอยู่ที่บางปู

 

                วัดราษฎร์บูรณะนั้นสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๒ ไร่ ๒ งาน ๒๐ ตารางวา โดยวัดหันหน้าไปทางทิศใต้

 อาณาเขต

                - ทิศเหนือติดกับที่ดินของเอกชน

                - ทิศใต้ติดกับคลองบางปลา

                - ทิศตะวันออกติดกับที่ดินของเอกชน

                - ทิศตะวันตกติดกับคลองซอยหลังวัด

 วัดราษฎร์บูรณะ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อ วันศุกร์ที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๓๑ ตรงกับวันแรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีชวด พระอุโบสถหลังเดิมเป็นแบบสมัยอยุธยาตอนปลายก่ออิฐถือปูน มีเจดีย์อยู่ที่หน้าพระอุโบสถ ต่อมาได้ชำรุดหักพังลงมาตามกาลเวลา จึงได้สร้างอุโบสถขึ้นใหม่แทนพระอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมลงจนไม่สามารถซ่อมแซมได้

                วัดราษฎร์บูรณะได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งที่ ๒ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๓ ตรงกับวันแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด ในคราวเดียวกับการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๒ เมตร แทนพระอุโบสถหลังเก่าโดยมีพระสมุห์สันต์ เป็นเจ้าอาวาส

wat1 wat2 wat3 wat4

  พื้นที่ของวัดราษฎร์บูรณะ

แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ

                 ๑. ด้านทิศตะวันออก แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส โดยมีพระอุโบสถขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๒ เมตร โดยรอบพระอุโบสถประกอบไปด้วยศาลาบำเพ็ญกุศล ๔ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ ๓ หลัง โรงครัว เมรุเผาศพ หอนาฬิกา มณฑปเก็บรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาส ศาลเจ้าพ่อพระราม-พระลักษณ์ ซุ้มประตูเจ้าวัดด้านทิศตะวันออก และศาลาการเปรียบหลังใหม่ทรงไทยประยุกต์คอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคาทรงตรีมุข ขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๕ เมตร และยังมีพระพุทธรูปปางลีลา สมเด็จพระพุทธศากยมุนีศรีมหาโพธิ์ ประดิษฐาน ณ ใต้ต้นโพธิ์

 

                  ๒. ด้านทิศตะวันตก แบ่งเป็นเขตสังฆาวาส ประกอบไปด้วยโรงเรียนพระปริยัติธรรม หอระฆัง ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน ศาลแม่กวนอิม หมู่กุฏิสงฆ์ ๒๔ หลัง มีถนนผ่านกลางหมู่กุฏิสงฆ์ มีซุ้มประตูทางเข้าวัดด้านทิศตะวันตก ริมเขตวัดเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนโดยทำการเช่าที่ของวัดเป็นการชั่วคราว

                ๓. ด้านทิศเหนือ เป็นที่ดินของวัดที่แบ่งให้สร้างโรงเรียนประจำตำบล เป็นอาคารคอนกรีต ๓ หลัง หอประชุมเอนกประสงค์ ๑ หลัง สนามกีฬา อาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา พร้อมด้วยอาคารโรงเรียนอนุบาลรับเด็กก่อนวัยรียนอีก ๑ หลัง

      

การคมนาคม

                 วัดราษฎร์บูรณะตั้งอยู่ถนนเทพารักษ์ ก.ม. ๑๗ รถประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย ๑๑๔๕ (สำโรง-บางบ่อ,สำโรง-บางปลา) หรือสองแถวจากบิ๊กซีบางพลี-ตาเจี่ย

wat5 wat6 wat7